Search

คอลัมน์การเมือง - ผู้นำกับอาการป่วยทางจิต - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

janganre.blogspot.com

ในปี 1938 (๒๔๘๑) หนึ่งปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะปะทุขึ้นจิตแพทย์เยอรมันกลุ่มหนึ่ง นำโดย ดร.Karl Bonhoeffer ได้ทำการวินิจฉัยพฤติกรรมและสภาพจิตใจของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โดยได้ข้อสรุปว่า เป็นผู้มีอาการป่วยทางจิต (symptomatic psychoses)แต่ระหว่างการรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อที่จะร้องขออำนาจศาลให้ถอดถอนฮิตเลอร์ออกจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดของเยอรมนี เพื่อเข้าทำการบำบัดรักษา ฮิตเลอร์ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสอบสวนเรื่องนี้เสียก่อน และได้ข้อสรุปว่า จิตแพทย์กลุ่มนี้แท้จริงแล้วเป็น ขบถจิตแพทย์ หรือ ผู้ทรยศต่อชาติ...หลังจากนั้น ชะตากรรมของจิตแพทย์กลุ่มนี้จะเป็นยังไงต่อไปคงเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ไม่ยาก ในยุคที่พรรคนาซีครองเมือง

ปัจจุบัน แนวคิดเรื่องผู้มีอาการป่วยทางจิต (The concept of symptomatic psychoses) ที่ ดร.Bonhoeffer บุกเบิกไว้ ได้ถูกนำมาขยายต่อโดยนักจิตวิเคราะห์รุ่นต่อๆ มา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ทางจิตและอธิบายพฤติกรรมของผู้นำทางการเมืองที่มีลักษณะเผด็จการหรือผู้นำที่บ้าอำนาจ เช่น ทฤษฎีคนบ้า (Madman Theory)


นักจิตแพทย์กลุ่มนี้นำทีมโดย ดร.Jerrold Post กับ ดร.Otto Kernberg ทั้งคู่เป็นศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิเคราะห์(Psychoanalyst) จาก มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน และ มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

ดร.โพสต์ นั้นเป็นอดีตผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการคนแรกของแผนกกองข้อมูลประวัติทางการเมือง (Political Profiling Program) สำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐ (Central Intelligence Agency) ซึ่งปัจจุบันคือ ศูนย์การวิเคราะห์เรื่องบุคลิกภาพและพฤติกรรมทางการเมือง (Center for the Analysis of Personality and Political Behavior) ของ CIA

แผนกนี้มีหน้าที่เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเมืองของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data)ในการวิเคราะห์ด้านการเมืองระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายต่างๆ ของอเมริกา โดยเฉพาะนโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศ

หลังออกจาก CIA ดร.โพสต์ก็มาสอนหนังสือและทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยในระยะหลังนี้ ดร.โพสต์สนใจศึกษาทำงานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมทางด้านจิตใจของบรรดาผู้นำทางการเมืองในประเทศต่างๆ ไม่ว่าทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว

ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ ดร.โพสต์ ที่ศึกษาร่วมกับ ดร.เคอร์นเบอร์กได้ทำการศึกษาพฤติกรรมทางด้านจิตใจของผู้นำสามคนที่ถูกแขวนป้ายไว้ที่คอว่าเป็นจอมเผด็จการ ได้แก่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และ โจเซฟ สตาลิน ซัดดัม ฮุสเซน อดีตผู้นำจากเยอรมนี รัสเซียและอิรัก ตามลำดับ

จากผลการศึกษาของดร.โพสต์ และ ดร.เคอร์นเบอร์ก นั้นพบว่า จอมเผด็จการทั้งสามคนนี้มีพฤติกรรมทางด้านจิตอันหนึ่งที่เหมือนกันคือ ความผิดปกติของพฤติกรรมทางจิตที่แสดงออกมาในรูปของการมีความลุ่มหลงในตัวเองมากจนไม่สามารถระงับได้ (Malignant Narcissism)

คำว่า Narcissism ซึ่งหมายความว่า ความรักตัวเอง หรือ ความชื่นชมในลักษณะทางกายและทางใจของตัวเอง นั้นมีที่มาจากตำนานเทพปกรณัมหรือเทพนิยายเกี่ยวกับเทวดากรีก (mythology) โดยในตำนานนี้เล่าว่า มีเทพองค์หนึ่งชื่อว่า นาร์ซิสซัส ซึ่งเป็นเทพที่มีรูปโฉมงดงามและเป็นที่หมายปองของบรรดาเหล่านางฟ้าต่างๆ แต่เทพนาร์ซิสซัสนี้ก็ไม่เคยสนใจหรือเห็นใครอยู่ในสายตาสักคน

จนมีอยู่วันหนึ่ง นาร์ซิสซัสได้ไปเดินเที่ยวเล่นในป่า และเมื่อมาถึงลำธารแห่งหนึ่ง นาร์ซิสซัสก็บังเอิญมองเห็นเงาของตัวเองในน้ำนาร์ซิสซัสก็เกิดความรู้สึกหลงใหลในรูปโฉมที่งดงามของตนเอง หลังจากนั้น นาร์ซิสซัสจึงได้แต่เฝ้ามอง ชื่นชม ดื่มด่ำกับรูปเงาของตัวเองทั้งวันทั้งคืน ไม่ลุกไปไหน ไม่ยอมกินอะไร จนกระทั่งตัวตาย

พฤติกรรมที่เรียกว่า “Malignant Narcissism” ดังกล่าวข้างต้น อันเป็นลักษณะร่วมของจอมเผด็จการทั้งสาม ดร.โพสต์และดร.เคอร์นเบอร์ก ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมนี้ในทาง
จิตวิเคราะห์ เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีลักษณะของความหลงในตนเองอย่างรุนแรงแบบนาร์ซิสซัส

พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะโอ้อวด เอาตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่คำนึงถึงผู้อื่น ไร้ซึ่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จักคำว่าคุณธรรมและจริยธรรม ไม่สามารถทนและยอมรับต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น และมักจะตอบโต้ โดยการแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เกรี้ยวกราดต่อผู้ที่ตนเองคิดว่าเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้าม

แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะพิเศษอันหนึ่งของผู้นำทางการเมืองที่มีพฤติกรรมแบบ “Malignant Narcissism” ก็คือ ลักษณะที่เป็นธรรมชาติในการชักจูงผู้คนที่อยู่รอบตัว รวมไปถึงความสามารถในการพูดจาโน้มน้าวฝูงชนเป็นจำนวนมาก ให้มีความคิดคล้อยตามคำพูดของตนเองได้ยอดเยี่ยม

ดร.โพสต์และดร.เคอร์นเบอร์ก ยังได้วิเคราะห์ต่อไปว่า คนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ สุดท้ายที่จริงแล้ว เกิดจากความต้องการที่จะปิดบังความจริงอะไรบางอย่างในส่วนลึกที่มีอยู่ในจิตใจตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ความผิดที่เคยทำในอดีต ปมอะไรสักปมหนึ่งในอดีตที่ฝังใจตัวเองมาโดยตลอด หรือ ความลับที่ปกปิดคนเป็นจำนวนมากไว้ ด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงทำให้พฤติกรรมของจอมเผด็จการเหล่านั้นถูกแสดงออกมาในลักษณะพฤติกรรมดังกล่าว งานวิจัยชิ้นนี้ต่อมาได้พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือชื่อ Narcissism and Politics

เมื่อเห็นคำว่า Narcissism หรือ บางทีฝรั่งก็ใช้คำง่ายๆ ว่า พวกmirror hungry ซึ่งก็คือ พวกที่ต้องส่องกระจกอยู่ตลอดเวลา หรือพวกบ้ากระจก ทำให้นึกถึงบทสนทนาตอนหนึ่งระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ กับสตีฟ แบนนอน อดีตหัวหน้าทีมงานฝ่ายยุทธศาสตร์ประจำทำเนียบขาวคนแรกและคนเดียวของทรัมป์ ผู้มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง....ในขณะที่ แบนนอนกำลังเสนอแนวทางการหาเสียงแบบ ประชานิยม (Populism) ให้กับทรัมป์ฟัง.....

“อืม อั๊ว.... ชอบมัน ว่ะ นั่นแหละตัวตนของอั๊ว…เลย…คนที่ใครเห็น ใครก็รัก ใครๆ ก็ชอบ (Popularist)” ทรัมป์กำลังคิดว่า Populism กับ Popularist คือคำคำเดียวกัน หรือ ไม่ก็มีความหมายเหมือนกัน

“ไม่ ไม่ใช่.... ผมพูดถึง.....นักประชานิยม (Populist)” แบนนอนพยายามบอกว่าทรัมป์เข้าใจผิด

“ใช่ ใช่ ใช่ อั๊วนี้แหละ คือ บุคคลประเภทที่.... ใครๆ ก็รัก ใครๆ ก็ชอบ (Popularist) ทรัมป์ยังคงยืนกรานความเป็น Narcissism หรืออาการ mirror hungry ของตัวเอง

ถึงตอนนั้น แบนนอน รู้แล้วว่าจะมามัวเสียเวลานั่งเลคเชอร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นทางการเมือง (Politics 101) ให้ทรัมป์ฟังทำไมให้เปลืองน้ำ เปลืองไฟ....หลังจากนั้น แบนนอน จึงได้เปลี่ยนกลยุทธ์การหาเสียงให้ทรัมป์ใหม่ โดยใช้คุณลักษณะของทรัมป์ที่ ดร.โพสต์ เรียกว่า Dangerous Charisma ให้เป็นประโยชน์ในการกรุยทางให้ทรัมป์ก้าวเดินไปสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ตอนนี้สภาพของประเทศกำลังเป็นเช่นไร คนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่ก็คงทราบกันดี.......

หมายเหตุ

1.การวินิจฉัยตรวจสอบสภาพจิตใจของฮิตเลอร์ของดร. Bonhoeffer อ่านเพิ่มเติมได้จาก “A Psychiatrist Under the Nazi dictatorship--Karl Bonhoeffer’s Commitment to Racially and Politically Persecuted Colleagues” https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11488248/

2.งานวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมทางด้านจิตใจของผู้นำของ ดร.โพสต์ อ่านเพิ่มเติมได้จาก Jerrold M. Post. Narcissismand Politics: Dream of Glory. New York, Cambridge University Press. 2015.

3.บทสนทนาระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ กับ สตีฟ แบนนอนอ่านเพิ่มเติมได้จาก Bob Woodward. Fear : Trump in the WhiteHouse. Simon & Schuster Paperback.New York. 2018.

Let's block ads! (Why?)



"ต้องการที่จะ" - Google News
June 05, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/36ZJVCE

คอลัมน์การเมือง - ผู้นำกับอาการป่วยทางจิต - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์การเมือง - ผู้นำกับอาการป่วยทางจิต - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.