ตลาดที่อยู่อาศัย ครึ่งหลังปี 2563 “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ชี้ “โควิด” ระบาด ฉุดกิจกรรมเศรษฐกิจหยุดชะงัก คาดยอดซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลหดตัว 37.9% ฟันธงพลิกเป็นบวกยาก!
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ครึ่งปีแรก 2563 เครื่องชี้กิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับลดลงตามปัจจัยแวดล้อม อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ช่วง 5 เดือนแรกปี 2563 เฉลี่ยหดตัวราว 75% (YoY) ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัยลดลง 3.4% (YoY) จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการระบาดของ “โควิด” ที่ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจ หยุดชะงัก และแผนกิจกรรมการตลาด ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยต้องเลื่อนออกไป
สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัย น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่า ครึ่งปีแรก จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ที่น่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว และ ตลาดที่อยู่อาศัย ยังพอมีปัจจัยด้านบวก อย่างมาตรการการลดหย่อนค่าธรรมเนียม การโอนกรรมสิทธิ์ และ ค่าจดจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท (สิ้นสุด 24 ธ.ค. 63) และแคมเปญกระตุ้นตลาด ของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจ ที่กระทบภาคธุรกิจ และกำลังซื้อครัวเรือน เป็นวงกว้าง ทำให้การซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพ และปริมณฑล ทั้งปี 2563 ยากจะพลิกกลับมาเป็นบวก โดยคาดว่า จะมีจำนวน 62,000-67,000 หน่วย หรือ หดตัว 37.9% ถึงหดตัว 32.9% จากปีก่อน ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย น่าจะมีจำนวน 140,000-145,000 หน่วย หดตัว 29.3% ถึงหดตัว 26.8% จากปีก่อน
ภายใต้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ที่ชะลอลง ผู้ประกอบการหลายราย มีการปรับลดการลงทุน และรอจังหวะการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ ซึ่งแม้ว่า อาจส่งผลระยะสั้น ต่อผลประกอบการ แต่ก็ถือเป็นการปรับสมดุล ของอุปสงค์และอุปทานในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าในพอร์ต ของผู้ประกอบการ ให้มีเสถียรภาพ
โดยทั้งปี 2563 คาดว่า การลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล จะมีจำนวนประมาณ 68,000 -72,000 หน่วย ลดลง 42.8% ถึงลดลง 39.5% จากปีก่อน
ด้านศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานว่า ภาพรวมในไตรมาส 1 ปี 2563 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 อุปสงค์ด้านการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของเชื้อ “โควิด” มีการล็อกดาวน์ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อลดลง
โดยเฉพาะอาคารชุดมียอดโอนกรรมสิทธิ์ลดลง แต่การโอนกรรมสิทธิ์แนวราบยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริง ประกอบกับ มาตราการลดค่าธรรมเนียมการโอน และ จดจำนองที่ต่อเนื่องมาจากปี 2562 ยังช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดลงไปแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 และ สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่จะสิ้นสุดลงภายในวันที่ 24 ธันวาคม 2563
ส่วนด้านอุปทานมีการปรับตัวลดลงของโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ โดยเฉพาะโครงการอาคารชุดผู้ประกอบการชะลอเปิดโครงการใหม่แต่หันมาเปิดขายโครงการบ้านจัดสรรเพิ่มขึ้น ด้านที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนมีการปรับลดลงเช่นกันเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562
สำหรับแนวโน้มในปี 2563 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คาดว่า ผลจากการชะลอตัว ของเศรษฐกิจ จากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อ “โควิด” จะส่งผลให้มีการชะลอตัว ทั้งในด้านอุปสงค์ และ อุปทาน โดยในด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า -19.0% และ -17.5% ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน คาดว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยจะลดลง -10.8% เมื่อเทียบกับปี 2562 ส่วนอุปทานที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนคาดว่าจะลดลง -27.8% และโครงการเปิดตัวใหม่คาดว่าจะลดลง -19.2% โดยคาดว่า ผู้ประกอบการจะหันมาลงทุนในโครงการแนวราบมากกว่าโครงการอาคารชุด โดยคาดว่าแนวราบจะลดลง -17.8% ส่วนห้องชุดลดลง -20.3% ตามลำดับ
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow
"ต้องการที่จะ" - Google News
July 03, 2020 at 06:56AM
https://ift.tt/2YUOA6w
ตลาดที่อยู่อาศัย ครึ่งหลังปี 63 'ศูนย์วิจัยกสิกรฯ' มองพลิกเป็นบวกยาก!! - thebangkokinsight.com
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ตลาดที่อยู่อาศัย ครึ่งหลังปี 63 'ศูนย์วิจัยกสิกรฯ' มองพลิกเป็นบวกยาก!! - thebangkokinsight.com"
Post a Comment