Search

9 มทร.เดินหน้า'ระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัล' หนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต - เดลีนีวส์

janganre.blogspot.com

เรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบการสะสมหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา เป็นวาระที่มีการผลักดันกันมาระยะหนึ่ง สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งได้มีการเริ่มดำเนินการกันไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ธัญบุรี ที่ถือว่าเป็นสถาบันนำร่องการดำเนินการเรื่องของธนาคารหน่วยกิต หรือ เครดิตแบงก์ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนแบบสะสมหน่วยกิตได้ และวันนี้จะไม่ใช่เพียง มทร.ธัญบุรี เท่านั้นที่ดำเนินการเรื่องนี้ แต่จะเป็นการดำเนินการร่วมกันโดยกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการลงนามความร่วมมือการใช้ระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมี ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมเป็นสักขีพยาน

ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้เป็นการขยับไปอีกก้าวที่สำคัญในการเปลี่ยนโฉมการจัดการศึกษาของประเทศไทย วันนี้การอุดมศึกษาจะสามารถจัดการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทั้งในคอร์สปกติ คอร์สการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ โดยสามารถเก็บเป็นศักยภาพความรู้ของตนเองได้ สามารถเรียนข้ามมหาวิทยาลัยได้ และกำลังจะมีการพัฒนาให้ระยะเวลาในการเรียนจะไม่มีกรอบเวลาอีกต่อไป จากที่เราเคยเห็นว่าหลักสูตร 4 ปี แต่ต้องเรียนให้จบภายใน 12 ปี มิฉะนั้นต้องรีไทร์แล้วกลับมาเรียนใหม่ก็จะไม่มีอีกแล้ว เพราะต่อไปอาจจะเรียนถึง 20 ปี แล้วได้รับวุฒิบัตร หรือ ปริญญาบัตร หรือไม่ได้อะไรเลย แต่ได้ความรู้และได้รับการประเมินทักษะต่าง ๆ มากมายเก็บสะสมในระบบคลังหน่วยกิตสามารถกลับไปเทียบในกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสำหรับการจ้างงานระหว่างประเทศได้

“การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโครงสร้างประชากรของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราต้องทำเรื่องธนาคารหน่วยกิตให้มีความชัดเจน เพราะวันนี้เด็กน้อยลงไปเยอะช่วงเวลา 7 ปีมานี้เด็กเกิดลดลงถึง 25% ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโครงสร้างผู้สูงอายุก็มีผลกระทบต่อสังคมเช่นเดียวกัน นอกเหนือจากคนที่ต้องมีการเปลี่ยนทักษะการทำงาน Up-Skill Re-Skill ในช่วงอายุ 40 ปีอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสังคมเศรษฐกิจ เครดิตแบงก์จะเป็นตัวช่วยได้แน่นอน”ดร.สุภัทรกล่าวและว่า คาดหวังว่า กลุ่ม มทร.จะเป็นต้นแบบในการดึงให้สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เข้ามาร่วมทำระบบนี้มากขึ้น
ขณะที่ ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดี มทร.อีสาน ฐานะประธานคณะกรรมการอธิการบดี(ทปอ.)มทร. กล่าวว่า เรื่องเครดิตแบงก์เป็นแนวนโยบายของกลุ่ม มทร.อยู่แล้วว่า เราต้องการทำเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะเปิดโอกาสให้คนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนเต็มระบบ หรือ คนที่เรียนไปทำงานไปสามารถทำงานและเรียนโดยเก็บหน่วยกิตได้ และเมื่อสภาการศึกษาต้องการตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นเดียวกับที่กลุ่ม มทร.ต้องการตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเกิดเป็นโครงการเครดิตแบงก์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม มทร.กับสภาการศึกษา โดยทางสภาการศึกษาเป็นผู้ดูแลเรื่องของมาตรฐาน และทางกลุ่ม มทร.ได้วางรูปแบบการดำเนินการของแต่ละสาขาร่วมกันเพื่อให้มีกรอบแนวทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว

ด้าน ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า การจัดการศึกษาเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำไม่ได้พูดกันเพียงเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นวาระระดับนานาชาติ มีการทำสัญญาประชาคมโลกในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2573 ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของโลกในช่วง 15 ปีต่อจากนี้ ซึ่งเป้าหมายที่ 4 เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษากำหนดไว้ว่า การสร้างหลักประกันว่าทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่ง กลุ่ม มทร.เห็นความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม มทร.มีวิสัยทัศน์ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ และให้นักศึกษาเรียนรู้ควบคู่ไปกับสถานประกอบการ ขณะเดียวกันก็เห็นว่าสถานประกอบการมีความต้องการที่จะพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับความรู้ และเพื่อให้ได้ปริญญาบัตร จึงได้มีการหารือกันในกลุ่ม มทร.ที่จะทำระบบคลังหน่วยกิตหรือเครดิตแบงก์ จนปัจจุบันได้มีการจัดทำหลักสูตรที่จะเข้าสู่ระบบเครดิตแบงก์แล้ว ซึ่งโครงการนี้จะสามารถรองรับการพัฒนากำลังคนของประเทศให้มีความรู้และคุณวุฒิที่สูงขึ้นได้อย่างตรงตามเป้าหมาย


ส่วน รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ธัญบุรี ในฐานะที่ปรึกษาโครงการวิจัย “โครงการพัฒนาระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต”กล่าวเสริมว่า มทร.ธัญบุรี ได้ดำเนินการจัดการศึกษาในระบบคลังหน่วยกิตมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเดิมใช้ชื่อโครงการว่า การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ.2562 ได้เปิดการสอนในระบบธนาคารหน่วยกิต กระทั่งในปี พ.ศ.2563 ได้เปิดรับนักศึกษาระบบคลังหน่วยกิตทั้งหมด 19 สาขาวิชา และในปี พ.ศ.2563 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการดำเนินงาน ทั้งด้านระบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบคลังหน่วยกิต และศักยภาพด้านการพัฒนาระบบ Digital Platform ในฐานะของการเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี จึงได้มอบหมายให้ มทร.ธัญบุรี เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งผลผลิตของโครงการจะทำให้เกิดระบบคลังหน่วยกิตในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถเชื่อมโยงการเก็บสะสมและการเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างหลักสูตร สาขาวิชา และระหว่างสถาบันอุดมศึกษาได้.
 
 

Let's block ads! (Why?)



"ต้องการที่จะ" - Google News
August 08, 2020 at 12:34PM
https://ift.tt/2DIk0ET

9 มทร.เดินหน้า'ระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัล' หนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต - เดลีนีวส์
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB


Bagikan Berita Ini

0 Response to "9 มทร.เดินหน้า'ระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัล' หนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต - เดลีนีวส์"

Post a Comment

Powered by Blogger.