
เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากความร่วมมือดังกล่าวแล้ว ที่ผ่านมา สอศ.ได้มีการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนอื่นๆ เช่น บริษัท มิตรผล จำกัด ที่มีการจับคู่กับกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จัดทำหลักสูตรRobotics & AI For Agriculture (RAIFA) ทั้งยังมีข้อตกลงเรื่องการฝึกปฏิบัติงานด้วย ทั้งนี้ตนเชื่อว่าการสร้างความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะช่วยให้ภาคเอกชนได้ทรัพยากรมนุษย์ที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบริษัท ไม่ต้องเสียเวลาในการปูพื้นฐานการทำงานให้แก่พนักงานใหม่ เพราะสถานประกอบการได้เข้ามาช่วยเหลือตั้งแต่ออกแบบหลักสูตรและเด็กที่เรียนในหลักสูตรนี้ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงมาแล้ว
“ปัจจุบันนี้ กลไกที่จะเข้ามาช่วยเหลือให้ประเทศไทยขับเคลื่อนไปได้ ไม่ได้มีเพียงแต่ฝ่ายรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการเพียงอย่างเดียว แต่ภาคเอกชนจะต้องเข้ามาร่วมมือกัน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา รวมถึงรัฐบาลก็จะต้องกล้าที่จะสนับสนุนสิ่งต่างๆ ที่จะช่วยยกระดับการจัดการศึกษาสายอาชีพ” นายณรงค์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม การสร้างความร่วมมือในลักษณะนี้ อาจจะไม่แตกต่างจากการจัดการศึกษาแบบทวิภาคี แต่ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการชั้นนำกับสถานศึกษาภาครัฐ จะมีความเข้มข้น มีนโยบายกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และ สอศ.ยังพร้อมที่จะลงทุนให้กับการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศด้วย.
"ต้องการที่จะ" - Google News
August 10, 2020 at 05:02PM
https://ift.tt/3iuSs59
สอศ.ชงของบฯอุดหนุนร่วมมือกับสถานประกอบการ - เดลีนีวส์
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB
Bagikan Berita Ini
Modal 20rb menang ratusan hingga jutaan?
ReplyDeleteDisini tempatnya IONQQ (p0k3r-0nlin3)
Sedia deposit pulsa juga (min 25rb)