
"เฉลิมชัย" นำทีมลงพื้นที่ติดตามแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) พร้อมวางมาตรการรองรับการขาดแคลนน้ำ ช่วงแล้งปี 63-64 กำชับกรมชลฯ ต้องดูแลพี่น้องเกษตรกรเป็นหลัก และให้มีน้ำเพียงพอสำหรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เมื่อวันที่ 23 ส.ค.63 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังรับฟังการบรรยายสรุปผล และแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ณ ห้องประชุมอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ว่า ภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำเก็บกัก ข้อมูล 21 ส.ค. มีปริมาตรน้ำปัจจุบัน 957 ล้าน ลบ.ม. ปริมาตรน้ำที่นำมาใช้ได้ 802 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 6 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 42 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 14 แห่ง กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จึงมีแผนจัดสรรน้ำและเพาะปลูกพืชฤดูฝน 2563 (1 พ.ค. 63 - 31 ต.ค. 63) 1,215 ล้านลบ.ม. สำหรับใช้ในการอุปโภค-บริโภค 265 ล้าน ลบ.ม. อุตสาหกรรม 154 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 199 ล้าน ลบ.ม. และด้านเกษตรกรรม 597 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันจัดสรรน้ำไปแล้ว 390 ล้านลบ.ม.

สำหรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC จ.ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกัก ปัจจุบัน 487 ล้าน ลบ.ม. ปริมาตรน้ำที่นำมาใช้ได้ 386 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 14 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 5 แห่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน จึงมีแผนจัดสรรน้ำและเพาะปลูกพืชฤดูฝน 2563 (1 พ.ค.-31 ต.ค.63) 644 ล้าน ลบ.ม. สำหรับใช้ในการอุปโภค-บริโภค 135 ล้าน ลบ.ม. อุตสาหกรรม 153 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและอื่น ๆ 112 ล้าน ลบ.ม. และด้านเกษตรกรรม 244 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันจัดสรรน้ำไปแล้ว 209 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้มีการคาดการณ์ปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำ ภาคตะวันออกและพื้นที่ EEC ในช่วงฤดูฝน 2563 ใน 5 กรณี ทั้งกรณีน้ำมาก กรณีน้ำเฉลี่ย กรณีน้ำน้อย กรณี Inflow ปี 2538 และกรณีน้ำ AVG-5% โดยได้วางมาตรการรองรับการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC ในช่วงฤดูแล้งปี 63/64 ไว้ 8 มาตรการ ดังนี้

1. สูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่มาลงอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล สูบถึงเดือนพ.ย.63 ปริมาณน้ำรวม 60 ล้าน ลบ.ม. 2. สูบคลองสะพานเติมอ่างฯ ประแสร์ ถึงเดือน พ.ย.63 ปริมาณน้ำรวม 15 ล้าน ลบ.ม. 3. สูบกลับวัดละหารไร่ (แม่น้ำระยอง) เติมอ่างฯ หนองปลาไหล ถึงเดือน พ.ย. ปริมาณน้ำรวม 4.84 ล้าน ลบ.ม. 4. การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดสูบใช้น้ำคลองน้ำหู ถึงเดือน พ.ย.63 ปริมาณน้ำรวม 5 ล้าน ลบ.ม.
5. สูบผันน้ำคลองพระองค์ฯ/พานทอง - อ่างฯ บางพระ ถึงเดือน พ.ย.63 ปริมาณน้ำรวม 50 ล้าน ลบ.ม. 6. สูบผันน้ำแม่น้ำบางปะกง-อ่างฯ บางพระ ถึงเดือน พ.ย.63 ปริมาณน้ำรวม 20 ล้าน ลบ.ม. 7. ประหยัดการใช้น้ำทุกภาคส่วนในจังหวัดระยอง และชลบุรี 8. สูบปันน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี มาลงอ่างประแสร์ มีแผนการสูบน้ำตั้งแต่วันที่ 1-30 ก.ย.63 ปริมาณน้ำรวม 12 ล้าน ลบ.ม.
"น้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นหัวใจของระบบทั้งหมด จึงต้องบริหารจัดการให้ดี รวมถึงต้องดูแลพี่น้องเกษตรกรเป็นหลัก ดังนั้นกรมชลฯ และทุกภาคส่วนต้องดูแล และคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด เริ่มจากสำรวจและดูปริมาตรที่แท้จริงของอ่างฯ และฝายต่างๆ ที่มีอยู่ เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างใช้งานมานาน อาจมีการตื้นเขินมากขึ้น การสำรวจและขุดลอกจะช่วยเพิ่มพื้นที่กักเก็บ รวมถึงต้องรณรงค์การใช้น้ำอย่างมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีน้ำใช้การเยอะหรือน้อย ต้องรณรงค์ให้เกิดเป็นนิสัย โดยต้องเริ่มตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทาง" นายเฉลิมชัย กล่าว

รมว.เกษตร กล่าวต่อว่า ขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย และการเริ่มโครงการสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำต่างๆ ขอให้ดูพื้นที่ที่มีฝนมากเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ไปสร้างเพิ่ม และเมื่อสร้างแล้วใช้ท่อส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เรามีน้ำใช้เพียงพอในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกในอนาคตจะกลายเป็นส่วนกลางของความเจริญ ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยวที่จะกลับมาคึกคักอีกครั้งเมื่อโควิด-19 คลี่คลาย ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และความเจริญจากการขยายเมืองออกมาจากภาคกลาง ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้น้ำก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเตรียมตัว วางแผนบริหารจัดการ และเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ เพื่อมีน้ำเพียงพอสำหรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต.
อ่านเพิ่มเติม...
"ต้องการที่จะ" - Google News
August 23, 2020 at 04:04PM
https://ift.tt/3l6rDq5
"เฉลิมชัย" เกาะติดสถานการณ์น้ำ พื้นที่ EEC กำชับต้องบริหารจัดการให้ดี - ไทยรัฐ
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB
Bagikan Berita Ini
0 Response to ""เฉลิมชัย" เกาะติดสถานการณ์น้ำ พื้นที่ EEC กำชับต้องบริหารจัดการให้ดี - ไทยรัฐ"
Post a Comment