
การใช้บริการ NETWORK AS A SERVICE มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นสูงถึง 38% ภายในระยะเวลา 2 ปีถัดจากนี้เนื่องจากการที่ธุรกิจต้องปรับตัวรับมือโควิด-19
• 74% ขององค์กรระบุว่าภัยคุกคามจากโรคระบาดนี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานในระดับปานกลางถึงระดับสูง
• เพื่อโต้ตอบกับสถานการณ์โควิด-19 พบว่า 38% ของผู้นำทางด้านไอทีได้วางแผนลงทุนเพิ่มเติมในบริการระบบเครือข่ายแบบคลาวด์และอีก 35% ได้วางแผนลงทุนในระบบเครือข่ายแบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากการมองหาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความคล่องตัวและเป็นอัตโนมัติมากขึ้นสำหรับรองรับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสาน
องค์กรธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อพนักงานต้องปรับตัวทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการจัดซื้อจัดหาและการใช้งานโซลูชันระบบเครือข่ายของฝ่ายไอที โดยในการปรับตัวตอบรับต่อภัยโรคระบาดนี้ ผู้นำทางด้านไอทีได้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบคลาวด์, ระบบวิเคราะห์ข้อมูลและรับประกันคุณภาพของระบบเครือข่าย, การประมวลผลผ่านจุดที่ผู้ใช้งานและอุปกรณ์ของเขาอยู่ด้วยกัน (Edge) และระบบเครือข่ายแบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้สอดคล้องกับแผนการกู้คืนธุรกิจที่เริ่มมีความชัดเจน ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้เป็นผลมาจากการสำรวจผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีทั่วโลก (IT decision-makers : ITDMs) กว่า 2,400 รายที่ได้รับการสนับสนุนโดยอรูบ้า (Aruba) บริษัทหนึ่งในเครือของฮิวเลตต์แพคการ์ดเอ็นเตอร์ไพรส์
ผู้นำทางด้านไอทีทั่วโลกได้ตอบสนองต่อภัยคุกคามของโรคระบาดโควิด-19 นี้โดยให้พนักงานสามารถกระจายตัวทำงานได้จากคนละสถานที่ (Distributed Workforce) และการเกิดขึ้นของสถานที่ทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Workplace) ซึ่งพนักงานต้องการที่จะทำงานได้จากทั้งภายในสำนักงาน ที่บ้านและระหว่างเดินทางได้ ผู้นำทางด้านไอทีเหล่านี้ต้องมองหาวิธีการที่ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านระบบเครือข่ายให้พัฒนาต่อไปและเปลี่ยนจากการลงทุนในรูปแบบการซื้อสินทรัพย์มาเพื่อใช้ในการดําเนินงานของบริษัท (CapEx) ไปสู่โซลูชันที่สามารถใช้งานในรูปแบบ ‘as a service’ ได้แทน โดยอัตราส่วนเฉลี่ยของการใช้บริการทางด้านไอทีในรูปแบบการสมัครเป็นสมาชิก (Subscription) นั้นจะเติบโตขึ้นอีก 38% ภายในระยะเวลา 2 ปีนับถัดจากนี้ จากปัจจุบันนี้ที่ทั่วโลกมีสัดส่วนเพียง 34% ของการลงทุนด้านไอทีทั้งหมดไปเป็นสัดส่วน 46% ภายในปี พ.ศ. 2565 และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) จะมีการเติบโตจากสัดส่วน 35% ไปเป็น 48% โดยในเวลานั้นสัดส่วนขององค์กรที่มีการใช้งานโซลูชันไอทีในรูปแบบในฐานะเป็นบริการจะเป็นส่วนใหญ่ของการลงทุน (เกิน 50%) นั้นก็จะมีสัดส่วนเพิ่มอีก 72% ทั้งในระดับโลกและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
“จากการเกิดขึ้นของสถานที่ทำงานแบบผสมผสาน ผู้นำทางด้านไอทีในสิงคโปร์ได้ถูกร้องขอให้นำเสนอการให้บริการระบบเครือข่ายที่มีทั้งความยืดหยุ่น ความมั่นคงปลอดภัยและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ Edge อย่างสมดุล” คุณ Justin Chiah ผู้อำนวยการอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ไต้หวัน และฮ่องกง/มาเก๊า (SEATH) ของอรูบ้ากล่าว “เป็นที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าในการตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ ผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีนั้นจะต้องให้ความสนใจในการลดความเสี่ยงลงและความได้เปรียบด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในรูปแบบสมัครเป็นสมาชิก ซึ่งถึงแม้ว่าองค์กรที่ถูกสำรวจในสิงคโปร์กว่า 85% (77% สำหรับการสำรวจจากทั่วโลก) จะทำการชะลอหรือเลื่อนโครงการออกไปเพราะโควิด-19 แต่ธุรกิจก็ยังคงมีความมั่นคงและเริ่มมองหาวิธีการที่จะยังคงทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ธุรกิจเหล่านี้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในระบบเครือข่ายแบบคลาวด์ (38%), ระบบวิเคราะห์ข้อมูลและรับประกันคุณภาพของระบบเครือข่าย (42%), ระบบประมวลผลที่ Edge (40%) และเทคโนโลยี AI สำหรับระบบเครือข่าย (28%)”
รายงานฉบับนี้ที่ได้ทำการสำรวจผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีมากกว่า 20 ประเทศใน 8 อุตสาหกรรมหลัก มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองของผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจเหล่านี้ต่อความต้องการทางด้าน ไอทีและธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการมาของโควิด-19, การตัดสินใจด้านการลงทุนที่เกิดขึ้นในฐานะของผลลัพธ์จากการตอบสนองนี้ และรูปแบบการลงทุนที่ได้รับการพิจารณา ซึ่งมีผลการศึกษาที่น่าสนใจดังนี้:
ผลกระทบจากโควิด-19 มีนัยยะสำคัญเป็นอย่างมาก
ผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีระบุว่าผลกระทบจากโควิด-19 นี้ส่งผลเป็นอย่างมากกับทั้งพนักงานและการลงทุนระยะสั้นด้านระบบเครือข่าย:
• 22% ระบุว่ามี ‘ผลกระทบอย่างมาก’ ต่อพนักงาน (ทั้งการพักงานหรือการปลดพนักงานจำนวนมาก) ในขณะที่ 52% ระบุว่ามี ‘ผลกระทบปานกลาง’ (มีการลดการทำงานบางส่วนชั่วคราว) และมี 19% ที่ระบุว่ามี ‘ผลกระทบน้อย’ (มีเพียงไม่กี่ตำแหน่งงานที่ได้รับผลกระทบ)
• ผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้าน IT ในอินเดีย (57%) และในบราซิล (34%) เป็นกลุ่มใหญ่ที่ระบุว่าพนักงานได้รับผลกระทบอย่างมาก ในขณะที่ผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้าน IT ในฮ่องกง (12%) และในเม็กซิโก (10%) เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างมากเป็นส่วนน้อย แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในแต่ละภูมิภาค
• 78% ของตลาดในภูมิภาค APAC ระบุว่าการลงทุนในโครงการด้านระบบเครือข่ายถูกเลื่อนหรือดำเนินการช้าลงจากการมาของโควิด-19 และ 27% ระบุว่าโครงการในลักษณะนี้ถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิง
• การยกเลิกโครงการทั่วตลาด APAC เกิดขึ้นสูงสุดในอินเดีย (37%) และเกิดขึ้นน้อยที่สุดในออสเตรเลีย (17%) แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมากสำหรับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ในขณะที่ 37% ของผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านที ในอุตสาหกรรมด้านการศึกษาและ 35% ในอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พักอาศัยทั่วโลกระบุว่าได้ยกเลิกการลงทุนด้านระบบเครือข่าย
อนาคตยังคงสดใส: การลงทุนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใหม่ที่เกิดขึ้น
ในทางกลับกัน แผนการสำหรับอนาคตนั้นถูกวางอย่างแข็งขัน โดยผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอที ส่วนมากกำลังวางแผนเพื่อที่จะลงทุนเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นสำหรับระบบเครือข่ายท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากพวกเขาต้องสนับสนุนตอบรับความต้องการใหม่ๆ ของพนักงานและลูกค้า
• ด้วยสัดส่วนทั่วโลกกว่า 38% ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจนี้จะเพิ่มการลงทุนในระบบเครือข่ายแบบคลาวด์ในขณะที่ 45% จะยังคงลงทุนด้วยสัดส่วนเท่าเดิมและ 15% มีแผนลดการลงทุนลง ส่วนในภูมิภาค APAC มากกว่าผู้นำทั่วโลกด้วยสัดส่วนถึง 45% ที่ระบุว่าจะเพิ่มการลงทุนในระบบเครือข่ายแบบคลาวด์โดยมีผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีจากอินเดียเป็นผู้นำที่สัดส่วน 59% ซึ่งด้วยโซลูชันคลาวด์ที่เปิดให้มีการบริหารจัดการเครือข่ายขนาดใหญ่ได้จากระยะไกลนี้ ความสามารถเหล่านี้ถือเป็นที่ดึงดูดสำหรับฝ่ายไอทีเป็นอย่างมาก ในขณะที่โซลูชันแบบ On-Premises ที่แต่ละองค์กรต้องลงทุนก้อนใหญ่ซื้อเครื่องแม่ข่ายเป็นของตนเองนั้นไม่สามารถตอบโจทย์หรือความท้าทายใหม่ ๆ ที่ต้องเผชิญได้
• ผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทียังคงมองหาเครื่องมือที่ดีขึ้นสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์ระบบเครือข่าย โดยสัดส่วน 34% จากทั่วโลกมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในระบบวิเคราะห์ข้อมูลและรับประกันคุณภาพเครือข่าย, 48% ระบุว่าจะยังคงลงทุนด้วยสัดส่วนเท่าเดิม และ 15% ระบุว่าจะลดสัดส่วนการลงทุนลง ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้ฝ่ายไอที สามารถแก้ไขปัญหาและปรับแต่งระบบเครือข่ายเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่พนักงานมีความต้องการระบบเหล่านี้มีการเติบโตยิ่งขึ้นจากการที่พนักงานสามารถกระจายตัวทำงานได้จากคนละสถานที่
• มีการให้ความสำคัญต่อนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ฝ่ายไอทีมีชีวิตการทำงานที่ง่ายขึ้นด้วยการเปลี่ยนงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติ พบว่า 35% ของผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีทั่วโลกมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีด้าน AI สำหรับระบบเครือข่าย โดยภูมิภาค APAC มีสัดส่วนสูงสุดที่ 44% (ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอที 60% จากอินเดียและ 54% จากฮ่องกง)
การเลือกใช้แนวทางการลงทุนรูปแบบใหม่กำลังเติบโต
เมื่อผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีได้วางแผนการลงทุนเป็นรูปเป็นร่างแล้ว พวกเขาก็มองหาทางเลือกในวิธีการลงทุนรูปแบบใหม่เพื่อให้เกิดความสมดุลสูงสุดระหว่างคุณค่าและความยืดหยุ่น
• 59% ในสิงคโปร์ระบุว่าพวกเขาจะมองหาการลงทุนรูปแบบสมัครเป็นสมาชิกใหม่สำหรับฮาร์ดแวร์และ/หรือซอฟต์แวร์ โดย 61% เลือกพิจารณาการซื้อบริการ Managed Services สำหรับโซลูชันฮาร์ดแวร์และ/หรือซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูปครบวงจร และ 34% เลือกพิจารณาการเช่าซื้อ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งสิ้น สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในรูปแบบทางการเงินที่มีความยืดหยุ่นท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความท้าทาย
• รูปแบบการเช่าใช้ระบบเครือข่ายแบบสมัครเป็นสมาชิกได้รับความนิยมสูงขึ้นใน APAC (61%) ซึ่งสูงกว่าในอเมริกา (52%) หรือภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (50%) และประเทศที่มีความนิยมสูงสุดนั้นได้แก่ตุรกี (73%), อินเดีย (70%) และจีน (65%
• อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะพิจารณาการใช้รูปแบบการสมัครเป็นสมาชิกมากที่สุดคือโรงแรมและที่พักอาศัย (66%), เทคโนโลยีและโทรคมนาคม (58%) และการศึกษา (57%) ผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อพฤติกรรมของฝ่ายไอทีทำให้เกิดความต้องการมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่มีความยืดหยุ่นและสามารถคาดการณ์ได้ ขณะเดียวกันต้องการลดความเสี่ยงในการใช้เงินลงทุนในการจัดซื้อเริ่มต้นที่สูงอีกด้วย
• ในทางกลับกัน มีเพียงสัดส่วน 8% จากทั่วโลกเท่านั้นที่ยังคงมีแผนการลงทุนในแบบ CapEx ทั้งหมด โดยมีสัดส่วนที่สูงสุดในเนเธอร์แลนด์ (20%), สหรัฐอเมริกา (17%), สเปน (16%) และฝรั่งเศส (15%) ซึ่งหากเทียบจากอุตสาหกรรมแล้ว 15% ของอุตสาหกรรมค้าปลีก, จัดจำหน่าย และขนส่งจะยังคงลงทุนในแบบ CapEx ทั้งหมด ในขณะที่มีเพียง 5% ของอุตสาหกรรม IT, เทคโนโลยี, การศึกษา และโทรคมนาคมเท่านั้น และในธุรกิจโรงแรมและที่พักอาศัยมีเพียง 2%
“ด้วยความต้องการของลูกค้าและพนักงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหลากหลายแง่มุมในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ย่อมไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่จะเห็นผู้นำทางด้านไอทีมองหาโซลูชันที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น” คุณ Chiah กล่าว “พวกเขาถูกผลักดันให้ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วและต้องมั่นใจว่าระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนและกระจายตัวขึ้นนี้จะยังคงสร้างประสบการณ์ที่ผู้ใช้งานต้องการได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ความต้องการในการบริหารจัดการระบบเครือข่ายได้อย่างคล่องแคล่วและยืดหยุ่นนี้มีมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยจากผลสำรวจทั่วโลกก็ได้แสดงให้เห็นว่า 58% ของผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้านไอทีในภูมิภาค APAC จะพิจารณาโซลูชันแบบ Managed Service ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 53% เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจในภูมิภาค APAC มองอนาคตในทางที่ดี”
แม้ว่าภัยโรคระบาดนี้จะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อโครงการต่าง ๆ ในหลากหลายระดับ งานวิจัยนี้ก็ได้แนะนำให้เห็นถึงผลกระทบเหล่านี้จะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการลงทุนในระยะกลางสำหรับเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่ล้ำหน้ายิ่งขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบการลงทุนที่ยืดหยุ่นยิ่งขึ้นซึ่งจะสามารถจำกัดการลงทุนในช่วงแรกเริ่มได้ แนวโน้มที่เคยเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ในสัดส่วนที่คงที่นั้นจะเริ่มเร่งเร็วขึ้นได้แก่การย้ายไปสู่ระบบ Edge และการใช้งานระบบเครือข่ายที่ชาญฉลาดที่เป็นระบบคลาวด์และมีปัญญาประดิษฐ์ (AI) คอยช่วยเหลืออีกด้วย
"ต้องการที่จะ" - Google News
August 21, 2020 at 10:29AM
https://ift.tt/3iSOu6u
การใช้บริการ NETWORK AS A SERVICE มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นสูงถึง 38% - ประชาชาติธุรกิจ
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB
Bagikan Berita Ini
0 Response to "การใช้บริการ NETWORK AS A SERVICE มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นสูงถึง 38% - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment