ทาง คณะราษฎร ก็ยืนยันว่าจะให้ทรงพิจารณาแล้ว ลงพระนามทันที โดยให้เวลาไม่นาน
ต้องเรียนว่า ร.7 นั้นได้ทรงศึกษาและเข้าใจลึกซึ้งถึงรัฐธรรมนูญในหลายประเทศและหลายรูปแบบ ด้วยเหตุที่พระองค์ก็มีพระราชดำริในการพระราชทานรัฐธรรมนูญเช่นกัน ข้อมูลบางแหล่งกล่าวว่าพระองค์ท่านได้ทรงร่างเอาไว้ด้วย ดังนั้นการมองผ่านเพียงไม่นานก็ทรงทราบว่ารัฐธรรมนูญที่จะให้ลงพระนามนั้นดีหรือสมบูรณ์เพียงใด
ในข้อมูลอ้างอิงชั้นปฐมภูมิได้กล่าวว่า ร.7 ถึงกับทรงมีนํ้าพระเนตรคลอ ด้วยอาจทรงคับแค้นพระราชหฤทัยที่คณะราษฎรไม่ได้ดูตั้งใจหรือเตรียมตัวในการเข้ามาปกครองประเทศ ซึ่งเห็นได้จากคุณภาพของร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งเป็นที่มาของคําพูดของพระยาทรงฯ...ที่พูดกับท่านปรีดีทันทีหลังจากออกเดินจากที่เข้าเฝ้า
และ...เป็นจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนของความร้าวฉานในคณะราษฎร
วันที่ 27 มิ.ย.2475 รัชกาลที่ 7 หลังจากได้ทรงมีเวลาพิจารณาเพียงสั้นๆ แต่ก็ต้องลงพระนามเพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ที่เป็นที่ตกตะลึงกับเหล่าคณะราษฎรคือเมื่อทรงลงพระนามเสร็จ
ก่อนที่จะพระราชทาน ทรงเติมคําว่า “ชั่วคราว” ในรัฐธรรมนูญนั้นต่อหน้าทุกคน
ส่งผลให้ฉบับดังกล่าวที่คณะราษฎรร่างมาเพียงฝ่ายเดียวก็ไม่ใช่ฉบับที่จะใช้ได้ถาวร ทําให้เห็นได้ชัดว่าพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญที่ดีกว่าที่คณะราษฎรร่างมา จึงเป็นที่มาของวันที่ 10 ธ.ค. 2475 วันที่เป็น “วันหยุด” แล้วเราก็ไม่เข้าใจจริงๆว่าสำคัญเพียงใด
ต่อเนื่องตัดตอนมาจากตอนที่ 3... “รัฐธรรมนูญฉบับถาวร” มีคุณค่ากับปวงชนชาวไทยจริงๆ ไม่ใช่เพราะว่าเป็นฉบับแรก แต่เป็นเพราะเป็นฉบับที่รัชกาลที่ 7 ทรงแลกมาด้วยความเสี่ยงในชีวิตของพระองค์เอง แลกมาด้วยความกล้าหาญและการนึกถึงประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
ในเรื่องประวัติศาสตร์ ข้อมูลหนึ่งที่ผมมักจะเชื่อเป็นอันดับต้นคือข้อมูลชั้นปฐมภูมิ ซึ่งมาจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรง ได้พูดได้คุย ได้ร่วมกระทํากิจกรรม แต่แหล่งข้อมูลที่ผมถือว่าสุดยอดที่สุดคือแหล่งข้อมูลที่อยู่ในเหตุการณ์และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆกับเหตุการณ์ ซึ่งจะทําให้เขาบันทึกสิ่งที่เห็นด้วยตาตามจริง
ผมไปได้บันทึกของราชทูตญี่ปุ่นที่อยู่ในเหตุการณ์ในวันนั้น สิ่งที่ท่านบันทึกนั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง บันทึกนั้นได้กล่าวถึงพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ ลักษณะการจัดงาน ตำแหน่งการนั่งของบุคคลต่างๆ ลําดับพิธีการบันทึกนั้นเป็นไปในลักษณะที่คล้ายกับเด็กบันทึกสิ่งที่ไม่เคยเห็น ทําให้เห็นอย่างไรก็บันทึกอย่างนั้น
ช่วงสำคัญคือช่วงที่ ร.7 ทรงออกพระวิสูตร ท่านราชทูตบันทึกว่า รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระพักตร์ผ่องใส เบิกบาน และดูว่าทรงเต็มพระราชหฤทัยในการพระราชทานรัฐธรรมนูญ
ข้อความนี้สำคัญมากทําให้เข้าใจได้ว่าทรงมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธ.ค.2475 และตั้งพระทัยในการมอบให้ประชาชนอย่างแท้จริง แม้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาล...อย่างไรก็ตาม ไม่กี่ปีถัดมา หากเราอ่านจดหมายสละพระราชอำนาจของรัชกาลที่ 7 เราจะยิ่งเข้าใจถึง “ประชาธิปไตย” ลุ่มๆดอนๆของเราอย่างแท้จริง

ย้ำประเด็น... “สมการความเจริญของประเทศ” (เสรีภาพ+ความยุติธรรม+ความรู้การศึกษา+การทำงาน)×ความมุ่งดีต่อกัน=ความเจริญ+ความสุข+ความเท่าเทียมตามกำลังที่ควรได้จากการกระทำ
ประเด็นนี้น่าสนใจ สะท้อนอนาคตเดินหน้า “ประเทศไทย” ให้เห็นแสงสว่างทางออก คำถามสำคัญมีว่า “ประเทศไทย” ... “คนไทย” ยังขาดตัวแปรไหน? รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าของโพสต์ บอกว่า ตัวที่สำคัญที่สุดคือตัวคูณ เรามีความเท่าเทียม ความยุติธรรม ความรู้การศึกษา การทำงานและทุกคนต้องทำงานด้วยไม่ใช่ว่าด่าอย่างเดียว ซึ่งตัวคูณที่ว่านี้ก็คือ “ความมุ่งดีต่อกัน”
“ตัวนี้สำคัญมาก เพราะตัวบวกหายไปตัวหนึ่ง ตัวคูณยังดีอยู่ก็ไม่เป็นไร...มากกว่า 1 เพิ่ม น้อยกว่า 1 ก็เป็นตัวลดทอน...สังคมเหนื่อย เราลองนึกดูทำไม? ประเทศสิงคโปร์ยุคลีกวนยูจึงพัฒนาก้าวหน้าไปไกลมากเขาไม่ได้สร้างความเท่าเทียมหรือความยุติธรรมได้สมบูรณ์นะ หากแต่เน้นธุรกิจ เน้นกฎระเบียบของสังคม แต่ว่าทุกคนมีตัวคูณเหมือนกันคือ...มุ่งที่จะให้ประเทศไปรอด”
หลายๆประเทศที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดขึ้นมาก็จะเป็นเช่นนี้ แม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นเอง เฉพาะคนรุ่นอาจารย์ผมวันนี้ก็อายุ 70-80 ปีเข้าไปแล้ว ตอนเด็กๆเขายากจนมาก ประเทศก็ยากจนแร้นแค้นเพราะแพ้สงคราม
แต่เจริญขึ้นมาเพราะอะไร เพราะแพ้สงคราม แต่ทุกคนในประเทศคิดเหมือนกัน ทำอย่างไรให้ประเทศหลุดจากการปกครองของประเทศมหาอำนาจ หลุดจากความอับอายจากเหตุการณ์ฮิโรชิมา ฯลฯ
“ญี่ปุ่น” จึงมีสี่ตัวครบหมดแล้วคูณด้วยตัวคูณที่มากกว่า 1.0 คือความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกันก็ยิ่งดีไปกันใหญ่ ในทางกลับกัน สมมติว่าตัวคูณที่ว่านี้น้อยกว่าหนึ่ง ถึงจะมีตัวบวกเยอะก็ยังเหนื่อย...ถ้าตัวคูณยิ่งน้อยผลก็ยิ่งเหนื่อย ทำให้ค่าลดทอนลงไปเรื่อยๆ ยิ่งถ้าติดลบก็ยิ่งไปกันใหญ่เพราะสมการจะไม่สมดุล
ถามว่าเราติดลบไหม ผมคิดว่า...ติดนะ แดง เหลือง สลับกับปฏิวัติแล้วก็มีม็อบ ตอนนี้ก็กลับกันหมด เหมือนขัดกันไปขัดกันมา ถ้าเกิดว่า...ไม่มีเบื้องหลัง หันมาพูดกันตรงๆ ยังไงก็ไม่มีทางเป็นลบ
พูดกันวิน...วินทุกฝ่าย “ตัวคูณ” ยังไงก็เป็น “บวก” คำถามตามมามีว่าแล้วประเทศอื่นๆเขาจัดการ “ตัวคูณ” กันยังไง? รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ มีประเด็นเดียวเรื่อง “ประชาธิปไตย” คือที่มาของ ส.ส. ขออย่างเดียว
“ผมเป็นวิศวกร อยู่บนฐานทุนนิยมและการพัฒนาพอจะเห็นกระบวนการงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาของ ส.ส.และความเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ท้องถิ่น”
ในอีกด้านหนึ่งในฐานะ “นักวิจัย” ก็รู้อีกว่า...งานวิจัยที่ทำนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะทำให้โครงการลดราคาลง ทำงานได้เร็วขึ้น ประเทศชาติก็ประหยัดด้วย ก็ไปไม่รอดหมดอีกนั่นแหละ เพราะไปขัดกับผลประโยชน์ที่พึงมี ต่อให้เทคโนโลยีดีแค่ไหนก็ไปไม่รอด นี่อาจเป็นหนึ่งในหลายๆมุม หลายๆเหลี่ยมก็พอจะเห็นได้
ฉากสมมติเป็นเช่นนี้ ถ้าอยากจะแก้ “ประชาธิปไตย” ก็ต้องแก้จากฐาน แก้ที่มา ส.ส.ก่อน
ยกตัวอย่างประเทศจีน...คนที่เข้ามานั่งกันเต็มสภาที่เราเห็นในทีวี นั่งเต็มปรบมือพร้อมๆกัน แต่ละคนผ่านการพิสูจน์ผลงานมามากมาย บางคนมาจากการเป็นผู้ใหญ่บ้าน มาจากรากหญ้า...เป็นผู้ปกครองที่ต่ำที่สุดที่รับใช้ประชาชน แล้วก็สู้กันขึ้นมาจนกลายเป็นกำนัน ผู้ว่าฯ ฯลฯ นั่งในสภาได้...แน่นอนว่าทุกคนผ่านความลำบากและการพิสูจน์ตัวตนมาหมดแล้ว แต่ของเรา ถ้าแค่มี... “เงิน” ก็อาจจะดันได้แล้ว?
รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ทิ้งท้ายว่า ส.ส.ต้องปฏิรูปก่อน ตัวคูณที่เป็นบวกมีไม่ได้ถ้ามีแบ็กกราวด์เบื้องหลัง มีไบแอส...เอียงปุ๊บก็จบทันที ต้องไม่มีข้างหน้าข้างหลัง สักพักสิ่งที่จะหายไปก็คือระบบพรรคแบบปลอมๆในบ้านเราจะหายไป เพราะทุกคนคิดเหมือนกัน ไม่มีเบื้องหลังมาดีด้วยความตั้งใจ
ทุกคนทำเพื่อสังคม ซื้อไม่ได้ ระบบพรรคก็เป็นไปด้วยการแข่งไอเดีย
ทำแบบนี้ได้...เราก็จะพ้น “กับดัก” ของ “ประเทศกำลังพัฒนา” เสียที.
"ต้องการที่จะ" - Google News
September 26, 2020 at 05:15AM
https://ift.tt/3kHXgFc
สมการความเจริญ ตัวแปรที่ไทยยังขาด - ไทยรัฐ
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สมการความเจริญ ตัวแปรที่ไทยยังขาด - ไทยรัฐ"
Post a Comment