Search

ส่องหนทางการเมือง ต่างฝ่ายเรียกร้องบนจุดมุ่งหมายเดียว แก้รัฐธรรมนูญสู่ประชาธิปไตย - ไทยรัฐ

janganre.blogspot.com
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
พรรคเพื่อไทย ผู้นำฝ่ายค้าน
พรรคเพื่อไทย ผู้นำฝ่ายค้าน

ฝ่ายค้าน ย้ำตั้ง ส.ส.ร. ขอดันแก้มาตรา 256 ก่อน

ฟากฝั่งผู้นำพรรคร่วมฝ่ายค้าน อย่าง พรรคเพื่อไทย ออกตัวว่าผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาโดยตลอด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหามากมายในแทบทุกหมวด รวมทั้งบทเฉพาะกาล ทั้งยังลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและมุ่งสืบทอดระบอบเผด็จการอำนาจนิยม ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่มีขึ้นเพื่อปกป้อง รับฟัง และยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง เบื้องต้นมีเพียงหนทางเดียวเท่านั้นที่จะก้าวข้ามความขัดแย้งและยุติระบอบเผด็จการอำนาจนิยมรวมถึงระบบรัฐราชการได้ คือการให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะประชาชนจะเป็นผู้แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศด้วยตัวเขาเอง

ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 พรรคเพื่อไทย ยกร่างตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งในเดือน มี.ค. 2562 และเสนอพรรคร่วมฝ่ายค้าน 7 พรรคในขณะนั้น ตั้งแต่กลางปี 2562 โดยกำหนดว่าจะไม่แก้ไขในหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันมาตั้งแต่นั้น รวมถึงมักแสดงจุดยืนในประเด็นนี้มาเป็นระยะ อีกทั้งเห็นควรเสนอขอแก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว. และอำนาจของ ส.ว. ตลอดจนมาตรา 279 ที่ให้ประกาศ คำสั่ง และการกระทำของ คสช. มีผลใช้บังคับต่อไปโดยให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายด้วยหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันทั้งหมดว่าในเบื้องต้นควรเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ตามร่างเดิมเพียงประเด็นเดียวก่อน แต่ในวันยื่นญัตติต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. พรรคก้าวไกล 21 คน ขอถอนชื่อออกโดยให้เหตุผลว่าร่างแก้ไขมาตรา 256 มีการสงวนไม่แก้ในหมวด 1 และ 2

พรรคก้าวไกล แถลงที่รัฐสภา
พรรคก้าวไกล แถลงที่รัฐสภา

“ก้าวไกล” ถอนชื่อจากร่างพรรคร่วมฝ่ายค้าน ลั่น ปิดสวิตช์ ส.ว.

พรรคก้าวไกล รวมตัวแถลงจุดยืนและข้อเสนอในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่รัฐสภา ยืนยันที่จะผลักดันให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ การตั้ง ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่จำกัดว่าห้ามแก้หมวดใดหมวดหนึ่ง ที่ผ่านมาพรรคได้เสนอในที่ประชุมระดับหัวหน้าพรรค ของพรรคร่วมฝ่ายค้านหลายครั้งในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้ไปกำหนดล็อกห้าม ส.ส.ร. แก้ไขหมวด 1 และ 2 แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่ของพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นต่างออกไป พรรคก้าวไกลจึงขอถอนชื่อในการเสนอญัตติ เพื่อสงวนความเห็นในเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งพรรคก้าวไกลจะโหวตสนับสนุนในวาระที่ 1 และจะขอแปรญัตติในวาระที่ 2 ต่อไป

อีกทั้งหลังจากนี้จะเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อปิดสวิตช์ ส.ว. คือ บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดให้มี ส.ว. 250 คน จากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และมีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกลจึงเชิญชวน ส.ส. เข้าชื่อเสนอญัตติยกเลิกมาตรา 269-272 ในบทเฉพาะกาลเพื่อปิดสวิตช์ ส.ว. ให้ทันในสมัยประชุมนี้ ขอย้ำว่ากระแสสูงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความยินยอมพร้อมใจของรัฐบาล หรือของ ส.ว. แต่เกิดขึ้นจากเสียงเรียกร้องกดดันจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วประเทศ

พรรคร่วมรัฐบาล ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ
พรรคร่วมรัฐบาล ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ

วิปรัฐบาล เห็นชอบหลักการร่วมกัน ยันไม่แตะหมวด 1 และ 2

ทางด้านพรรคร่วมรัฐบาล เห็นชอบในหลักการร่วมกัน โดยพรรคพลังประชารัฐ แกนนำจัดตั้งรัฐบาล ขอยืนยันในหลักการไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 พร้อมขอให้ประชาชนเชื่อมั่นต่อกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านระบบรัฐสภา ที่ยึดถือหลักสิทธิ เสรีภาพและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นสำคัญ สำหรับสัดส่วน ส.ส.ร. ทั้ง 200 คน จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ในแต่ละจังหวัด 150 คน รัฐสภา คัดเลือก 20 คน จากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เลือก 20 คน และเลือกจากนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา 10 คน นอกจากนี้ยังได้กำหนดลักษณะบุคคลต้องห้าม ที่ไม่สามารถใช้สิทธิสมัครเป็น ส.ส.ร. ได้ คือ ข้าราชการการเมือง ส.ส., ส.ว. หรือรัฐมนตรี รวมถึงบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

กมธ.แก้รัฐธรรมนูญ ศึกษาเสร็จแล้ว พร้อมบรรจุเข้าสภาฯ 10 ก.ย.

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ส่งมอบรายงานผลการศึกษาต่อ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นการศึกษาเชิงวิชาการที่รวบรวมความคิดเห็นทั้ง 2 ด้าน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่จะร่างนำไปศึกษา หากผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่นำข้อมูลไปศึกษาก็จะได้ข้อมูลที่เป็นกลาง ซึ่งรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการชุดนี้จะบรรจุในวาระการประชุม ส.ส. วันที่ 10 ก.ย. 2563 และถ้าพิจารณาไม่แล้วเสร็จก็ต่อในวันที่ 11 ก.ย. ได้ โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรคาดว่าจะมีผู้อภิปรายในวาระนี้จำนวนมาก

ท้ายที่สุดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะออกมาเป็นอย่างไร รูปแบบไหน จะตัดทอนหรือเพิ่มเติมในส่วนใด ก็คงต้องเป็นความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้ง ส.ส., ส.ว., นักการเมือง, นักกฎหมาย, นักวิชาการ และที่สำคัญคือประชาชนในสาขาอาชีพต่างๆ ที่จะมาร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญให้ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกันมากที่สุดและนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงตามที่มุ่งหวัง...

ผู้เขียน : กิณรีสีอังกาบ

กราฟิก : Jutaphun Sooksamphun

ภาพ : Eakalak Mainoy, Watcharachai Klaipong, พรรคเพื่อไทย

Let's block ads! (Why?)



"ต้องการที่จะ" - Google News
September 02, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2DiGooq

ส่องหนทางการเมือง ต่างฝ่ายเรียกร้องบนจุดมุ่งหมายเดียว แก้รัฐธรรมนูญสู่ประชาธิปไตย - ไทยรัฐ
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ส่องหนทางการเมือง ต่างฝ่ายเรียกร้องบนจุดมุ่งหมายเดียว แก้รัฐธรรมนูญสู่ประชาธิปไตย - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.