
ย้อนอดีต มองปัจจุบัน : คอลัมน์ เมียงมอง เมียนมา โดย กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์
วันที่ 15 สิงหาคม 1942 หรือเมื่อ 82ปีก่อน ทหารญี่ปุ่นได้บุกเข้าสู่ใจกลางกรุงย่างกุ้ง เพื่อปลดปล่อยพม่า (ชื่อในยุคนั้น) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะปะทุรุนแรงขึ้น ความพยายามของญี่ปุ่นยุคนั้น ต้องการที่จะบุกเข้าสู่ประเทศจีนทางด้านตะวันตก โดยอาศัยฐานที่มั่นทางภาคเหนือของประเทศพม่า ทางรัฐกะฉิ่นรุกเข้าสู่ฐานทัพอากาศของประเทศจีนทางฝั่งเมืองเถิ่นชง ยุคนั้นญี่ปุ่นได้มีความพยายามยุยงให้พม่าประกาศอิสระภาพจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และยกเอาความเป็นชาตินิยมที่ชาวพม่ามีอยู่ในใจมาตลอด เป็นจุดกระตุ้นให้เกิดความแตกแยกและจุดเริ่มต้น เป็นที่ทราบกันดีว่าพม่ายุคนั้นมีนักศึกษาหัวรุนแรง ที่ตัองการประชาธิปไตยและอิสรภาพ จึงง่ายต่อการยุยงส่งเสริมมาก สิ่งแรกที่ญี่ปุ่นทำคือการยุให้พม่าต้องใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ แทนการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งก็ง่ายมากที่จะเป็นที่ยอมรับ ต่อจากนั้นก็ดำเนินการยุให้มีการโค่นอนุเสาวรีย์และรูปปั้นที่เกี่ยวข้องกับอังกฤษออกไป ซึ่งประกอบด้วยอนุเสาวรีย์ รูปปั้นของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย และรูปปั้นพระเจ้าจอร์จ อีกทั้งนายสเปนเซอร์ฮาร์คอร์ท บัตเลอร์ของอังกฤษและอนุสาวรีย์อื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษซึ่งก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และในระหว่างญี่ปุ่นได้รุกเข้าเมืองนั้น เมืองที่ตั้งชื่อตามชื่อของเจ้าหน้าที่อังกฤษได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อพม่าอยู่หลายแห่ง หนึ่งในตัวอย่างคือเมืองเมเมียว (คำว่าเมียวหมายถึงเมือง) ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งชื่อตามผู้พันเจมส์ เมย์ นักรบชาวอังกฤษ ก็ถูกเปลี่ยนเป็นเมืองพินอูลวิน ยังมีชื่อถนนหลายแห่งในย่างกุ้ง ก็เปลี่ยนจากชื่อถนนภาษาอังกฤษเป็นชื่อถนนภาษาพม่าหมด ปัจจุบันนี้ถนนที่ย่างกุ้งและเมืองต่างๆ จะใช้ชื่อกษัตริย์พม่าหรือไม่ก็เป็นชื่อนักรบพม่าทั้งหมด จะมีเมืองเดียวในพม่าหรือเมียนมาปัจจุบันที่ไม่ใช้ชื่อเหล่านั้น คือเมืองมัณฑะเลย์ ที่ใช้หมายเลขเป็นชื่อถนน ตัวอย่างเช่นถนน 66 ตัดกับถนน 21 เป็นต้น อีกทั้งภาพยนตร์จากอังกฤษและสหรัฐอเมริกาถูกห้ามฉายในโรงภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน
อีกประเทศหรือเขตปกครองหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี คือประเทศจีนและเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ที่เราจะได้รับทราบข่าวคราวมาตลอดสองปีมานี้ ถึงความวุ่นวายในบ้านเมือง การออกมาของผู้นำนักศึกษาอย่าง โจ ซัว หว่อง ซึ่งอันที่จริงเขาก็มีนามสกุล “หว่อง” ออกเสียงเป็นภาษากวางตุ้ง ถ้าออกเสียงเป็นจีนกลางก็ “หวง” ถ้าเป็นจีนแต้จิ๋วก็ “อึ้ง” ก็เป็นนามสกุลเดียวกับผมนั่นแหละครับ แต่ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า เขาต้องมีประเทศที่อยากเห็นความวุ่นวาย หรือพวกที่หวังดีแต่เจตนาร้ายอยู่เบื้องหลังอย่างแน่นอนครับ จึงทำให้เกิดการจราจลมานานพอควร แต่พอเจอตัวร้ายกว่าคือเจ้าวายร้าย COVID19 เข้าก็เลยต้องเพลาๆลงไป ไม่แน่ใจว่าหลังจากเจ้าโรคร้ายผ่านพ้นไป ความวุ่นวายจะกลับมาอีกหรือไม่นะครับ ถึงตอนจบของฮ่องกง เราๆท่านๆก็คงจะเดาไปอีกแหละครับว่า คงต้องถูกประเทศจีนกลบลบชื่อฮ่องกงออกจากโลกนี้ไปแน่ๆครับ
กลับมาดูที่เมียนมาบ้าง หลังจากเกิดความวุ่นวายอันเป็นปฐมฤกษ์ไปแล้ว บ้านเมืองก็ไม่ได้กลับมาอย่างเดิมอีกเลย พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า ที่ถูกอัญเชิญให้เสด็จไปพำนักที่รัตนคีรีในประเทศอินเดีย ชาวพม่าขาดสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจหลงเหลืออยู่อีกต่อไป ประเทศพม่าก็เริ่มมีการแก่งแย่งชิงดี เพื่อเข้ามาปกครองประเทศกันของกลุ่มผู้มีอำนาจต่างๆอีกหลายครั้งอย่างที่ทราบๆกัน จนกระทั้งกลุ่มสุดท้ายคือท่านนายพล ตัน ฉ่วย ขึ้นมาครองอำนาจ ทางตะวันตกที่เคยเข้ามากอบโกยเอาทรัพยากรธรรมชาติของพม่าไป หรือแม้แต่ญี่ปุ่นที่เข้ามายุยงส่งเสริมให้เกิดการปฎิรูปประเทศพม่า ก็ไม่สามารถช่วยอะไรพม่าได้อีกเลย เพราะเกิดการบอยคอตจากชาติตะวันตกและสหประชาชาติขึ้น ทำให้ประเทศพม่าโดดเดี่ยวเดียวดายขึ้นมาทันที ประเทศเข้าสู่ยุคมืดมนครั้งใหญ่สุด เมื่อปี 1988 หลังมีการเลือกตั้งของประชาธิปไตยจอมปลอมเข้า ในยุคนี้เราเองก็ยังทันเหตุการณ์อยู่ เพราะผมเข้าไปทำมาหากินที่เมียนมาในปี 1990 จึงได้รู้รสชาดของการที่ประเทศถูกโดดเดี่ยวว่าเป็นอย่างไร ทุกอย่างตกต่ำหมด ถ้าเราไปถามคนเมียนมาที่อายุสัก 40 ปีขึ้นไปว่า เขาคิดอย่างไรกับความเป็นอยู่ในยุคนั้น เราก็จะได้รับทราบเลยว่ามันสาหัสสากรรจ์ขนาดไหน ส่วนถ้าถามว่าปัจจุบันนี้หากกลับไปอยู่ในยุคนั้นอีกครั้งจะเอามั้ย ทุกคนต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “พอแล้ว เข็ดแล้ว”
ที่ผมนำมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้รุ่นน้องๆได้ฟังกัน ที่ผมเห็นข่าวตามหน้าสื่อต่างๆในวันนี้ ถึงการออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยกัน หรือออกมาประท้วงบนถนนกัน ส่วนตัวผมคิดว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สวยงาม และอยากเห็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเช่นกัน แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะออกมาพูดคือ หากเราขาดซึ่งเสาหลักที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจไป เช่นองค์พระมหากษัตริย์ เราจะเห็นที่พม่าเป็นตัวอย่าง จะเห็นที่เวียดนามเป็นหลังจากเขาขาดสิ่งยึดเหนี่ยวนั้นไป พอถึงวันนั้นเราอาจจะต้องหันมามองปัจจุบันแล้วเสียดายอดีตไปนะครับว่า “ไม่น่าเล้ย....” เชื่อเถอะครับว่าถ้าวันนั้นมาถึงจริงๆ เราเองก็ไม่รู้ว่าใครจะเข้ามาช่วยเราได้ เพราะไอ้คนที่อยู่ข้างหลัง เขาอาจจะไปจากโลกนี้ไปแล้ว หรือเขาอาจจะไม่สนใจใยดีเราเลยก็ได้นะครับ
"ต้องการที่จะ" - Google News
August 17, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2Y5edkg
ย้อนอดีต มองปัจจุบัน - ฐานเศรษฐกิจ
"ต้องการที่จะ" - Google News
https://ift.tt/307JncB
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ย้อนอดีต มองปัจจุบัน - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment